คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุนด้านสินเชื่อ
- เป็นเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ และมีขนาดของกิจการ ดังนี้
- กิจการประเภท การผลิตสินค้า หรือการให้บริการ โดยมีจำนวนการจ้างงานไม่เกินสองร้อยคน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกินสองร้อยล้านบาท
- กิจการประเภท การค้าปลีก หรือการค้าส่ง โดยมีจำนวนการจ้างงานไม่เกินห้าสิบคน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท
- เป็นเอสเอ็มอีที่เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะที่เป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลประเภทอื่น ตามที่คณะกรรมการบริหาร กำหนด
- เป็นเอสเอ็มอีที่เป็นผู้ผลิต ให้บริการ ค้าปลีกค้าส่ง หรือผู้ใช้ ในกลุ่มอุตสาหกรรม BCG (Bio Circular Green) ดังนี้
- กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรมหรืออาหารแปรรูปที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
- กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานชีวมวล
- กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ บริการทางการแพทย์ ยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร
- กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ
- กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นยานยนต์ไฟฟ้า
- หรือธุรกิจอื่นซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
- ทั้งนี้ ธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายที่จะให้การสนับสนุน ได้แก่ ธุรกิจจัดสรรที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อขาย ธุรกิจผิดกฎหมาย หรือธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม
- มีระบบบัญชีเดียว หรือ แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว ทั้งนี้ ผ่อนปรนเงื่อนไขการจัดทำประมาณการรายได้ของกิจการ โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือ ข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยใช้แนวทางใดแนวทางหนึ่ง หรือ ใช้หลายแนวทางร่วมกัน เพื่อประกอบการพิจารณารายได้ของกิจการ
- ไม่เป็น NPL หรือ ถูกดำเนินคดี ณ วันยื่นขอเข้าโครงการ
- มีประวัติการชำระหนี้ปกติ และไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน ณ วันยื่นขอเข้าโครงการ
- ต้องไม่อยู่ระหว่างการยื่นความประสงค์ หรือได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากทุนหมุนเวียนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ดังนี้
- กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย
- กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ
- หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
วัตถุประสงค์การกู้
- เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง หรือลงทุนในกิจการ เงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ หรือฟื้นฟูกิจการในปัจจุบัน หรือ เริ่มต้นกิจการใหม่
- หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ทั้งนี้ ห้ามให้สินเชื่อแก่เอสเอ็มอีเพื่อนำเงินกองทุนไปชำระหนี้เดิมของสถาบันการเงินอื่น (Refinance) หรือ ทดแทนหนี้เดิมในสถาบันการเงินเดิม เว้นแต่เป็นกรณีการลงทุนเฉพาะที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีการเปิด L/C (Letter of Credit) เพื่อนำเข้าสินค้า และมีระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน ให้สามารถนำเงินกองทุนไปชำระหนี้ที่เกิดจากการเปิด L/C และ/หรือ T/R (Trust Receipt) ให้กับสถาบันการเงินอื่นได้
กรอบวงเงินโครงการ
- 1,000 ล้านบาท (หนึ่งพันล้านบาท)
การรับสมัครและคัดเลือกเอสเอ็มอีเข้าโครงการ
- การรับสมัคร เอสเอ็มอียื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ณ สำนักงาน หรือหน่วยปฏิบัติในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการจัดตั้งอยู่ โดยผ่านช่องทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน www.thaismefund.com ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เว้นแต่วงเงินสินเชื่อจะหมดก่อน โดยให้สำนักงาน หรือหน่วยปฏิบัติ เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบเอกสารและคุณสมบัติเอสเอ็มอีเป็นการเบื้องต้น ตามที่สำนักงานกำหนด
- การกลั่นกรอง คัดเลือกเอสเอ็มอีเข้าโครงการ เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะอนุกรรมการบริหาร โดยพิจารณาและคัดเลือกเอสเอ็มอีที่มีคุณสมบัติเข้าข่าย ของโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และส่งให้หน่วยร่วมดำเนินการ เพื่อเข้าสู่กระบวน การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและอนุมัติสินเชื่อ
วงเงินสินเชื่อต่อราย
- สูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท (สิบห้าล้านบาท)
ประเภทสินเชื่อและระยะเวลาการให้กู้ยืม
- เงินกู้สินเชื่อระยะยาว (Term Loan) ระยะเวลากู้ สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
- ปลอดชำระคืนเงินต้น สูงสุดไม่เกิน 18 เดือน
- ให้พิจารณาตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา หากมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารประกาศกำหนด
- กรณีผิดนัดชำระหนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของหน่วยร่วมดำเนินการ แต่ทั้งนี้สูงสุดไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด
ค่าธรรมเนียมการกู้
- ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าอากรแสตมป์ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
หลักประกัน
พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการเป็นสำคัญ โดยมีการผ่อนปรนหลักประกัน ดังนี้
- กรณีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาท
- ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ/หรือ ผู้ได้รับประโยชน์จากสินเชื่อ ค้ำประกันเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
- กรณีนำเงินของกองทุนไปลงทุนในเครื่องจักร หรือ ยานพาหนะ ให้จดทะเบียนเป็นหลักประกันทางธุรกิจเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติรวม
- กรณีนำเงินไปลงทุนในอาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ ให้มีการจัดทำประกันภัยแก่หลักประกันตามแนวทางของหน่วยร่วมดำเนินการ
- กรณีวงเงินสินเชื่อเกิน 5 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 15 ล้านบาท
- ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ/หรือ ผู้ได้รับประโยชน์จากสินเชื่อ ค้ำประกันเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
- ให้มีหลักประกันตามหลักเกณฑ์ของหน่วยร่วมดำเนินการ ประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร หรือ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด ทั้ง Core หรือ Non-Core Asset โดยมีการประเมินราคาหลักประกัน รับราคาหลักประกัน และคำนวณ สัดส่วนมูลค่าคิดเป็นหลักประกันตามแนวทางปฏิบัติของหน่วยร่วมดำเนินการกรณีใช้หลักประกันตามหลักเกณฑ์หน่วยร่วมดำเนินการ ให้ยกเว้นการทบทวนราคาประเมินหลักประกันเพื่อใช้กันสำรองหนี้จัดชั้นทุก 3 ปี เนื่องด้วยกองทุนไม่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
- กรณีนำเงินของกองทุนไปลงทุนในเครื่องจักร หรือ ยานพาหนะ ให้จดทะเบียนเป็นหลักประกันทางธุรกิจเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
- กรณีนำเงินไปลงทุนในอาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ ให้มีการจัดทำประกันภัยแก่หลักประกันตามแนวทางของหน่วยร่วมดำเนินการ
อื่น ๆ
หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
การยื่นสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ www.thaismefund.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โทร. 02-354-3310 หรือ E-mail : smefund.service@gmail.com